เรื่องความปลอดภัยในงานรับเหมาก่อสร้าง
เรื่องความปลอดภัยในงานรับเหมาก่อสร้าง เรื่องที่ผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง คือเรื่องของความปลอดภัยในงานรับเหมาก่อสร้าง เพื่อป้องกันไม่ให้คนงาน หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงได้รับอันตราย ว่าแต่วิธีป้องกันอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในงานรับเหมาก่อสร้างนั้นมีวิธีไหนบ้าง ไปอ่านกันได้เลยค่ะ
วิธีป้องกันอันตรายจากงานรับเหมาก่อสร้าง
1. มีป้ายแจ้งเตือน “เขตอันตราย”
เขตอันตราย หมายถึง พื้นที่ หรือบริเวณที่เป็นสถานที่ที่กำลังมีการก่อสร้าง ที่ติดตั้งนั่งร้าน ใช้ปั้นจั่น หรือใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อการก่อสร้าง พื้นที่ที่เป็นทางลำเลียงวัสดุเพื่อการก่อสร้าง หรือพื้นที่ที่ใช้เป็นสถานที่ที่เก็บเชื้อเพลิง วัตถุระเบิด และวัสดุก่อสร้างต่างๆ
ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมงานรับเหมาก่อสร้างควรจัดทำเขตอันตรายในเขตพื้นที่ก่อสร้าง ด้วยวัสดุที่เหมาะสมและมีป้าย “เขตอันตราย” แสดงให้เห็นชัดเจน ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนให้มีสัญญาณไฟสีส้มตลอดเวลา
2. ความปลอดภัยในงานตอกเสาเข็ม
การทำงานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็ม หัวหน้าควบคุมงานรับเหมาก่อสร้างควรเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายให้แก่พนักงาน เช่นจัดเตรียมชุดสวมใส่ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายอย่างครบถ้วนทั้งผู้ควบคุมงานรับเหมาก่อสร้าง และคนงาน
3. ป้ายแจ้งเตือน “เขตห้ามเข้า”
ใช้ในกรณีที่มีการเทคอนกรีตเหนือค้ำยัน หัวหน้าควบคุมงานรับเหมาก่อสร้างต้องควบคุมดูแล มิให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปอยู่ใต้บริเวณที่เทคอนกรีต
4. จัดเตรียมพื้นที่ก่อสร้างให้มีความแข็งแรง
ผู้ควบคุมงานรับเหมาก่อสร้างควรจัดทำพื้นที่ทำงานก่อสร้างให้มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้อย่างปลอดภัย
5. ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณเตือน
กรณ์ที่มีการใช้งานเครื่องจักรที่มีการเคลื่อนที่ ผู้ควบคุมงานรับเหมาก่อสร้างจำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ เตือนอันตรายไว้ที่เครื่องจักรนั้นๆ เช่น สัญญาณเสียง หรือสัญญาณแสง
6. ติดตั้งระบบป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว
ในงานรับเหมาก่อสร้างควรมีการติดตั้งระบบป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว โดยการเดินสายดินและมีการตรวจสอบความเรียบร้อยอยู่ตลอดเวลา เช่น ปลั๊กที่ใช้ทุกตัวจะต้องทำการต่อสายดินให้เรียบร้อย
7. มีวิศวกรคอยควบคุมงานรับเหมาก่อสร้าง
ในงานรับเหมาก่อสร้างที่ดีนอกจากจะมีหัวหน้าผู้ควบคุมงานรับเหมาก่อสร้างแล้ว ควรมีวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญมาคอยดูแลงานรับเหมาก่อสร้างร่วมด้วย ซึ่งวิศวกรก็จะมีหน้าที่ คำนวณ ออกแบบ และกำหนดขั้นตอนก่อนมีการเจาะขุดรู หลุม บ่อคู เพื่อให้งานอื่นๆ ในลักษณะที่มีความลึกตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไปไม่พังทลาย จนเกิดความเสียหาย
8. ป้องกันอันตรายจากการทำงานในที่สูง
การทำงานในที่สูงจากพื้นดิน หรือพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป หัวหน้าผู้ควบคุมงานรับเหมาก่อสร้างควรจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายอย่างเช่น นั่งร้าน บันได ขาหยั่ง หรือม้ายืนที่ปลอดภัยตามสภาพของงานนั้นๆ รวมถึงงานลาดชันที่สูงเกิน 2 เมตร และงานทำมุมเกิน 30 องศาจากแนวราบ จำเป็นจะต้องมีเชือกช่วยชีวิต เข็มขัดนิรภัย เพื่อป้องกันการพลัดตกจากที่สูง
บริษัท ไอ แอม เฮีย จำกัด เป็นบริษัทประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ต่อเติม และ ตกแต่งภายใน โดยทีมงานสถาปนิก และ วิศวกร ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี เราก่อตั้งมาจากกลุ่มคนทำงานที่มีความรู้ความสามารถทางด้านงานก่อสร้าง ที่พร้อมจะมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานก่อสร้างที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เพื่อประโยชน์สูงสุดกับลูกค้าที่ใช้บริการ
สนใจติดต่อ
Line : @Iamhere999
Facebook : รับก่อสร้าง By I AM HERE